Add Your Heading Text Here

สาเหตุเบื้องต้นและลักษณะของอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
อาการเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น อาจมีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Angina pectoris ซึ่งแปลได้ว่าอาการเจ็บแน่นแบบบีบเค้นหน้าอก โดยสาเหตุนั้นเกิดมาจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอมาเลี้ยง เนื่องจากการมีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันทำให้เกิดภาวะขาดเลือด โดยอาจรุนแรงมากจนถึงขั้นกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมาได้ ลักษณะอาการเจ็บจะมีลักษณะเหมือนถูกกดทับหรือถูกบีบรัดบริเวณหน้าอก อาการนี้อาจปวดร้าวไปบริเวณหัวไหล่ แขนข้างซ้าย คอหรือกราม ส่วนหลัง อาการปวดมักจะรุนแรงมากจนทนไม่ได้ อาจมีอาการใจสั่นหรือเหงื่อออกมากร่วมด้วย อาการจะดีขึ้นเมื่อได้พักหลังจากทำกิจกรรมต่างๆหรือได้รับยาอมใต้ลิ้น (ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยรับยาเป็นประจำอยู่แล้วมาก่อนหน้านี้)
“เจ็บแน่นหน้าอก อาการเร่งด่วน ไม่ควรมองข้าม”
อาการเจ็บแน่นหน้าอกนั้น เป็นอาการหนึ่งที่จัดเป็นอาการสำคัญที่เร่งด่วน เนื่องจากมักมีสาเหตุมาจากโรคที่มีความรุนแรงและต้องการการรักษาที่เร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและอาจมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย สำหรับคอลัมน์นี้เราจะมาทำความรู้จักกับอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจกันครับ เพื่อจะได้ทำการป้องกันโดยการลดความเสี่ยง สังเกตอาการที่เกิดขึ้นได้ว่าเข้าได้กับสาเหตุจากโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การรักษาได้ทันท่วงทีต่อไป
สาเหตุเบื้องต้นและลักษณะของอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ


ความเสี่ยงของอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ
• มีระดับไขมันประเภทคอเลสเตอรอลสูง
• มีความดันโลหิตสูง
• สูบบุหรี่
• มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน
• มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตราฐาน หรือเป็นโรคอ้วน
• ประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันน้อยกว่าปกติ
• อายุมากกว่า 45 ปีในผู้ชายและอายุมากกว่า 55ปีในผู้หญิง
• มีประวัติคนในครอบครัวปล่อยเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อย
โดยอาจมีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก เช่น
• มีอารมณ์เครียดและวิตกกังวลมากกว่าปกติ
• สัมผัสกับอากาศหนาวหรือร้อนจัดเกินไป
• รับประทานอาหารมื้อใหญ่ๆหลายมื้อ
• สูบบุหรี่จำนวนมากต่อวัน
เตรียมข้อมูลใดบ้างเมื่อต้องไปพบแพทย์
• ระยะเวลาที่เกิดอาการนานเท่าใด
• อาการปวดรุนแรงมากกหรือไม่ โดยอาจใช้การบอกเป็นตัวเลขเช่น เลขหนึ่ง คือเจ็บน้อยที่สุด จนถึง 10 คือเจ็บมากที่สุดในชีวิต เป็นต้น
• กิจกรรมใดที่กระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก
• อาการเจ็บหน้าอกนี้ดีขึ้นได้อย่างไรบ้าง
• ประวัติและยาที่ใช้ในการรักษาโรคประจำตัว
อาการเจ็บหน้าอกที่มีลักษณะดังกล่าวข้างต้น รวมถึงผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงดังกล่าวต้องได้รับการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์ในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด โดยหากตรวจพบว่าอาการนั้นเกิดจากสาเหตุที่รุนแรงมากจากโรคหลอดเลือดหัวใจจริง ผู้ป่วยจะมีความจำเป็นต้องรีบรักษาโดยด่วน ฉะนั้นการซื้อยาแก้ปวดมารับประทานเองหรือสังเกตอาการที่บ้านก่อนเป็นที่ไม่แนะนำให้ทำอย่างยิ่ง อย่าลืมนะครับว่า “เวลาที่เสียไป เท่ากับกล้ามเนื้อหัวใจที่แย่ลง” ด้วยเช่นกันครับ