“เจ็บแน่นหน้าอก อาการเร่งด่วน ไม่ควรมองข้าม”

Add Your Heading Text Here ข้อมูลสุขภาพทั้งหมด สาเหตุเบื้องต้นและลักษณะของอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ       อาการเจ็บแน่นหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น อาจมีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Angina pectoris ซึ่งแปลได้ว่าอาการเจ็บแน่นแบบบีบเค้นหน้าอก โดยสาเหตุนั้นเกิดมาจากกล้ามเนื้อหัวใจไม่ได้รับออกซิเจนที่เพียงพอมาเลี้ยง เนื่องจากการมีภาวะหลอดเลือดหัวใจอุดตันทำให้เกิดภาวะขาดเลือด โดยอาจรุนแรงมากจนถึงขั้นกล้ามเนื้อหัวใจตายตามมาได้ ลักษณะอาการเจ็บจะมีลักษณะเหมือนถูกกดทับหรือถูกบีบรัดบริเวณหน้าอก อาการนี้อาจปวดร้าวไปบริเวณหัวไหล่ แขนข้างซ้าย คอหรือกราม ส่วนหลัง อาการปวดมักจะรุนแรงมากจนทนไม่ได้ อาจมีอาการใจสั่นหรือเหงื่อออกมากร่วมด้วย อาการจะดีขึ้นเมื่อได้พักหลังจากทำกิจกรรมต่างๆหรือได้รับยาอมใต้ลิ้น (ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยรับยาเป็นประจำอยู่แล้วมาก่อนหน้านี้) “เจ็บแน่นหน้าอก อาการเร่งด่วน ไม่ควรมองข้าม” อาการเจ็บแน่นหน้าอกนั้น  เป็นอาการหนึ่งที่จัดเป็นอาการสำคัญที่เร่งด่วน เนื่องจากมักมีสาเหตุมาจากโรคที่มีความรุนแรงและต้องการการรักษาที่เร่งด่วน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและอาจมีการตายของกล้ามเนื้อหัวใจร่วมด้วย  สำหรับคอลัมน์นี้เราจะมาทำความรู้จักกับอาการเจ็บหน้าอกที่เกิดจากโรคหลอดเลือดหัวใจกันครับ เพื่อจะได้ทำการป้องกันโดยการลดความเสี่ยง สังเกตอาการที่เกิดขึ้นได้ว่าเข้าได้กับสาเหตุจากโรคหลอดเลือดหัวใจหรือไม่ เพื่อนำไปสู่การรักษาได้ทันท่วงทีต่อไป สาเหตุเบื้องต้นและลักษณะของอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ความเสี่ยงของอาการเจ็บหน้าอกจากโรคหลอดเลือดหัวใจ •    มีระดับไขมันประเภทคอเลสเตอรอลสูง•    มีความดันโลหิตสูง•    สูบบุหรี่•    มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน•    มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตราฐาน หรือเป็นโรคอ้วน•    ประกอบกิจกรรมในชีวิตประจำวันน้อยกว่าปกติ•    อายุมากกว่า 45 ปีในผู้ชายและอายุมากกว่า 55ปีในผู้หญิง•    มีประวัติคนในครอบครัวปล่อยเป็นโรคหัวใจตั้งแต่อายุน้อย โดยอาจมีปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก เช่น•    มีอารมณ์เครียดและวิตกกังวลมากกว่าปกติ•    สัมผัสกับอากาศหนาวหรือร้อนจัดเกินไป•  …

อาการหายใจลำบาก

อาการหายใจลำบาก ข้อมูลสุขภาพทั้งหมด อาการหายใจลำบาก ความหมายของอาการหายใจลำบาก       คนปกติจะมีการหายใจเข้า เพื่อนำเอาออกซิเจน ซึ่งมีอยู่ในอากาศไปใช้ในร่างกาย และหายใจออกเพื่อนำเอาคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นของเสียที่สร้างขึ้นในร่างกายออกไป การหายใจถูกควบคุมโดยศูนย์ควบคุมการหายใจในสมอง ซึ่งจะควบคุมให้ปริมาณการหายใจ เป็นสัดส่วนสมดุลย์กับความต้องการของออกซิเจนในร่างกาย ส่วนการหายใจลำบากนั้นหมายถึง ภาวะซึ่งผู้ป่วยต้องใช้ความพยายามหรือใช้แรงในการหายใจ ทั้งนี้การหายใจลำบากไม่มีความสัมพันธ์กับความเร็วของการหายใจก็ได้ สาเหตุของอาการหายใจลำบากมีดังนี้ 1. สาเหตุเกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น ทางเดินหายใจอุดกั้น หน้าที่ของปอดถูกทำลาย เป็นต้น2. สาเหตุเกี่ยวกับหัวใจ เช่น การทำงานของหัวใจไม่ดี เนื่องจากกล้ามเนื้อบางส่วนของหัวใจตาย หรือลิ้นหัวใจรั่ว ในผู้ป่วยที่มีอาการซีกซ้ายของหัวใจวาย อาการหายใจลำบากอาจเกิดขึ้นในเวลากลางคืน และเป็นพักๆ เป็นต้น3. สาเหตุเกี่ยวกับระบบประสาท ทำให้การควบคุมการหายใจไม่ดี เช่น โรคสมองและประสาทเลี้ยงกล้ามเนื้อ (Neuromuscular Disease) เช่น หลอดเลือดเลี้ยงสมองตีบ โรคกล้ามเนื้อฝ่อ (Muscular atrophy or Dystrophy) และ Myasthenia Gravis เป็นต้น4. สาเหตุจากโรคหรือภาวะความเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น โรคโลหิตจาง โรคคอพอกเป็นพิษ ต่อมธัยรอยด์ทำงานเกินขนาด (Thyrotoxicosis or…

ทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการใจสั่น

ทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการใจสั่น ข้อมูลสุขภาพทั้งหมด สาเหตุของอาการใจสั่นมีดังนี้ – อารมณ์ที่มีความรุนแรงมาก เช่น วิตกกังวล หวาดกลัว เคร่งเครียด เป็นต้น– การออกกำลังกายหรือใช้กำลังในการทำกิจกรรมมากกว่าปกติ– สารที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเต้นของหัวใจบางอย่าง เช่นคาเฟอีน นิโคติน แอลกอฮอล์ หรือสารเสพติดบางประเภทเช่น โคเคนหรือแอมเฟตามีน เป็นต้น– โรคหรือภาวะความเจ็บป่วยบางชนิด เช่นโรคไทรอยด์เป็นพิษ ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าปกติ ภาวะโลหิตจาง ความดันโลหิตต่ำ มีไข้และขาดสารน้ำในร่างกาย– ความแปรปรวนของระดับฮอร์โมนในบางสภาวะเช่น ในขณะตั้งครรภ์ ขณะกำลังมีประจำเดือน หรือวัยใกล้หมดประจำเดือน เป็นต้น– ยารักษาโรคบางชนิด เช่น ยาลดน้ำมูก ยาพ่นหรือยารับประทานเพื่อขยายหลอดลม ยาลดความอ้วน เป็นต้น– พืชสมุนไพรและวิตามินบำรุงบางอย่าง– ระดับเกลือแร่บางชนิดในร่างกายมีความผิดปกติ ทำอย่างไรเมื่อเกิดอาการใจสั่น อาการใจสั่น  เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการเต้นของหัวใจที่แรงหรือเร็วกว่าปกติ ซึ่งหัวใจอาจจะเต้นเป็นจังหวะปกติหรือผิดปกติก็ได้ โดยปกติแล้วเรามักไม่รู้สึกถึงการเต้นของหัวใจ แต่ในบางครั้งที่หัวใจเต้นแรงหรือเร็วมาก อาจทำให้เกิดอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก หอบเหนื่อย หรือเวียนศีรษะจนอาจส่งผลให้เกิดการหน้ามืดหรือหมดสติและอาจรุนแรงจนมีผลต่อความดันโลหิตได้    อาการใจสั่น  นั้นอาจสร้างความรบกวนหรือตกใจต่อเราได้ แต่โดยทั่วไปนั้นอาการใจสั่นมักจะไม่รุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายและมักหายเองได้เป็นปกติ โดยเฉพาะในกลุ่มที่สัมพันธ์กับภาวะบางอย่างเช่นเครียดหรือวิตกกังวล หรือได้รับสารกระตุ้นบางชนิดเช่นคาเฟอีน นิโคติน แอลกอฮอร์…

เวียนศีรษะบ้านหมุน

เวียนศีรษะบ้านหมุน ข้อมูลสุขภาพทั้งหมด ผมขอยกตัวอย่างโรคที่อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะจนบ้านหมุน ที่พบบ่อยๆ ให้พอผ่านตากันนะครับ • โรคเวียนศีรษะขณะเปลี่ยนท่าทาง (benign paroxysmal positioning vertigo: BPPV) เป็นโรคที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่พบได้บ่อยที่สุด โรคนี้เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของหูชั้นใน จึงพบมากในผู้สูงอายุ อาการเฉพาะของโรคนี้คือ อาการเวียนศีรษะบ้านหมุนที่เกิดขึ้นทันทีทันใดในขณะเปลี่ยนท่าทางของศีรษะ เช่น ระหว่างกำลังล้มตัวลงนอนหรือลุกจากที่นอน เงยหน้า ก้มหยิบของ เป็นต้น อาการมักจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ เป็นแค่ช่วงวินาทีที่ขยับศีรษะ แล้วอาการจะค่อยๆ หายไป• โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere’s disease) เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหูชั้นใน โดยยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่พบว่าอาการของโรคเป็นผลจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นใน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการเวียนศีรษะแบบรู้สึกหมุนอย่างรุนแรง ร่วมกับมีอาการคลื่นไส้อาเจียน  อาการเวียนศีรษะที่เกิดจากโรคนี้อาจนานเป็นนาทีจนถึงหลายชั่วโมง ซึ่งในระหว่างที่เกิดอาการ ผู้ป่วยควรอยู่นิ่งๆ ไม่ขยับศีรษะ เพราะอาจทำให้มีอาการเวียนศีรษะเพิ่มขึ้นได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจมีการได้ยินลดลงและมีเสียงดังในหูได้ด้วย• โรคอื่นๆ เช่น โรคเนื้องอกของประสาทการทรงตัวหรือเส้นประสาทการได้ยิน (acoustic neuroma) ,การอักเสบของหูชั้นใน (labyrinthitis),เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ (vertebra-basilar insufficiency) เป็นต้น   เวียนศีรษะบ้านหมุน หลายคนคงเคยมีประสบการณ์เวียนศีรษะจนบ้านหมุนมาบ้างไม่มากก็น้อย แต่แทบทุกคนที่เคยมีอาการนี้ คงจดจำประสบการณ์นั้นได้ไม่รู้ลืม…

ปวดศีรษะเฉียบพลัน

ปวดศีรษะเฉียบพลัน ข้อมูลสุขภาพทั้งหมด ปวดศีรษะเฉียบพลัน เกือบทุกคนคงเคยมีประสบการณ์ปวดศีรษะเฉียบพลันกันมาบ้างแล้วนะครับ อาการของแต่ละคนอาจมีความรุนแรงแตกต่างกันตามสาเหตุ แต่แทบทุกคนล้วนมีความกังวลใจกันอยู่ไม่น้อยเวลาเกิดอาการเช่นนี้ เช่น อะไรเป็นสาเหตุของอาการปวดศีรษะของเรากันแน่? มีอะไรเกิดกับสมองของเราหรือเปล่า? เราต้องไปหาหมอหรือเปล่านะ หรือลองรับประทานยาแก้ปวด แล้วดูอาการก่อนดี? เมื่อไหร่ต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน? เราจะรับมือกับอาการปวดศีรษะเฉียบพลันอย่างไร ติดตามอ่านได้เลยครับ   อาการปวดศีรษะ เป็นอาการที่พบบ่อยมากทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดย 2 ใน 3 ของเด็กทั้งหมด และ 9 ใน 10 ของผู้ใหญ่ทั้งหมด ล้วนเคยมีอาการปวดศีรษะ โดยที่ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดอาการนี้ได้เท่าๆกัน สาเหตุของอาการปวดศีรษะนั้นแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ1.อาการปวดศีรษะปฐมภูมิ (Primary headache) อาการปวดศีรษะทุติยภูมิ (Secondary headache) และอาการปวดศีรษะจากเส้นประสาทและอื่นๆ (Cranial neuralgias, central and primary facial pain and other headaches)1.อาการปวดศีรษะปฐมภูมิ (Primary headache) คือ อาการปวดศีรษะซึ่งเกิดขึ้นเอง โดยสาเหตุที่แท้จริงของอาการปวดศีรษะปฐมภูมิยังไม่แน่ชัด ยกตัวอย่างอาการปวดศีรษะในกลุ่มนี้เช่น โรคปวดศีรษะจากเครียด…

ยามฉุกเฉิน : รู้จักและรับมือกับโรคอัมพาต (Stroke)

ยามฉุกเฉิน : รู้จักและรับมือกับโรคอัมพาต (Stroke) ข้อมูลสุขภาพทั้งหมด โรคอัมพาต(Stroke)คืออะไร? โรคอัมพาต หรือโรคหลอดเลือดสมอง (stroke) คือ ภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยงเนื่องจากมีการตีบตันหรือแตกของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ส่งผลให้เซลล์สมองขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ซึ่งทำให้การทำงานของสมองต้องหยุดชะงักและส่งผลให้เกิดอาการต่างๆตามมา ตามแต่ตำแหน่งหน้าที่ของสมองในส่วนที่ขาดเลือดนั้นทำงานอยู่ สาเหตุของโรคอัมพาตคืออะไร?ความผิดปกติของหลอดเลือดสมองที่ทำให้สมองขาดเลือด แบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้หลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (ischemic stroke) เป็นสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดโรคอัมพาตหรือโรคหลอดเลือดสมอง พบได้ประมาณ 80% โดยเกิดจากลิ่มเลือดที่อุดตันในหลอดเลือดสมอง โดยสาเหตุอาจเกิดจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดตีบแคบ มีความยืดหยุ่นและมีประสิทธิภาพในการลำเลียงเลือดลดลง เป็นต้นหลอดเลือดสมองปริแตกหรือฉีกขาด (hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 20% ของโรคหลอดเลือดสมอง เกิดจากหลอดเลือดมีความเปราะบาง อาจเกิดร่วมกับภาวะความดันโลหิตสูง ทำให้บริเวณที่เปราะบางนั้นโป่งพองและแตกออก หรืออาจเกิดจากหลอดเลือดเสียความยืดหยุ่นจากการสะสมของไขมันในหลอดเลือด ทำให้หลอดเลือดปริแตกได้ง่าย ซึ่งทำให้ปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงอย่างฉับพลันและทำให้เกิดเลือดออกในสมอง ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือดสมองคืออะไร?• ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของโรคหลอดเลือดสมอง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ไม่ดีมีโอกาสเป็นโรคอัมพาตได้มากกว่าคนปกติ• เบาหวาน เป็นสาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น และมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าคนปกติ 2-3 เท่า• ไขมันในเลือดสูง เป็นความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองเช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ คือ มีไขมันสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือด• โรคหัวใจ เช่น โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ…

​โซเดียม เค็ม…อันตราย!

โซเดียม เค็ม…อันตราย! ข้อมูลสุขภาพทั้งหมด โซเดียม เค็ม…อันตราย! โซเดียม คือ สารอาหารชนิดหนึ่งที่มีความจำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่รักษาสมดุลน้ำในร่างกาย ควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ และช่วยในการทำงานของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วร่างกายต้องการโซเดียมประมาณ 1,500 มิลลิกรัมต่อวันเท่านั้น และปริมาณโซเดียมสูงสุดที่ร่างกายสามารถรับได้โดยไม่เกิดผลเสียนั้นอยู่ที่ 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน ​ แต่ในความเป็นจริงนั้นพบว่ามีคนไทยจำนวนมากที่ได้รับโซเดียมเกินความต้องการของร่างกาย โดยสถานการณ์การบริโภคเกลือของประเทศไทย จากข้อมูลวิจัยเรื่องการบริโภคเกลือโซเดียมในประชากรไทย โดยสำนักโรค ไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ในปี 2550 ซึ่งทำการตรวจ ปริมาณโซเดียมในปัสสาวะจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่าง พบว่าได้รับโซเดียมเฉลี่ย 128.50 มิลลิกรัมต่อวัน หรือ 6,355 มิลลิกรัมต่อวัน และข้อมูลการสำรวจปริมาณการบริโภคเกลือแกงของประเทศไทย โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย  แหล่งที่มาและความเข้าใจผิดเกี่ยวกับอาหารที่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบโดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงอาหารที่มี “เกลือ”เป็นส่วนประกอบ คนส่วนใหญ่จะนึกถึงเกลือแกง (salt) ที่ใช้ ในการปรุงแต่งรสอาหารให้มีความเค็ม แต่ในทางวิทยาศาสตร์ “เกลือ” คือสารประกอบทางเคมีที่เรียกว่า “โซเดียมคลอไรด์ (sodium chloride)” คำว่าเกลือและโซเดียมจึงมัก ใช้แทนซึ่งกันและกัน จนทำให้คิดว่า เกลือกับโซเดียมคือสารเดียวกัน…

สาระน่ารู้อาหารกับ COVID

สาระน่ารู้อาหารกับ COVID ข้อมูลสุขภาพทั้งหมด เก็บถนอม “อาหาร” อย่างไร ? เก็บถนอม “อาหาร” 🥩🍎🥦อย่างไร ❓  เพื่อให้ได้คุณค่าทางโภชนาการ #Fight_COVID19#ต้องห่วง_ให้เราช่วยดูแล เปิดครัวหาเมนูสู้โควิด-19 เปิดครัวหาเมนูสู้โควิด-19 เมนูชูสุขภาพ สร้างเสริมระบบภูมิคุ้มกัน #Fight_COVID19#ไม่ต้องห่วง_ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก#โรงพยาบาลพิษณุเวช_พิจิตร#โรงพยาบาลพิษณุเวช_พิษณุโลก#โรงพยาบาลพิษณุเวช_อุตรดิตถ์Line : @pitsanuvejphichit🌐 https://2020.pitsanuvej.com📱 056-613316 ​

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019

โรงพยาบาลพิษณุเวช พิจิตร corona virus prevention ข้อมูลสุขภาพทั้งหมด 📌 รพ.พิษณุเวช พิจิตร มีความตื่นตัวกับการรับมือกับเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 จึงได้จัดทำคลิปเพื่อรณรงค์ในการป้องกันและการดูแลตนเองอย่างง่ายๆ เพื่อความปลอดภัยของทุกคน 🙂 ด้วยความปรารถนาดีจาก รพ.พิษณุเวช พิจิตร #ไม่ต้องห่วง_ให้เราช่วยดูแลคนที่คุณรัก#โรงพยาบาลพิษณุเวช_พิจิตร#โรงพยาบาลพิษณุเวช_พิษณุโลก#โรงพยาบาลพิษณุเวช_อุตรดิตถ์ Line : https://lin.ee/tUhiT1G🌐 https://2020.pitsanuvej.com📱 056-613316  https://youtu.be/5-mbc2h4ixk