ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง MRI และ CT SCAN

ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง MRI และ CT SCAN     การตรวจคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้า MRI 3 Tesla คือ การตรวจหาความผิดปกติของระบบต่าง ๆ ในร่างกายโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและการสะท้อนคลื่นวิทยุมาประกอบกันแล้วแปลงเป็นสัญญาณบนคอมพิวเตอร์ภาพที่ได้จะเป็นภาพตัดขวาง 3 มิติ สามารถตรวจอวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย สามารถสร้างภาพเสมือนจริง โดยเฉพาะ กระดูก สมอง หัวใจ กล้ามเนื้อ เส้นประสาท และส่วนที่เป็นมะเร็งด้วยคอมพิวเตอร์รายละเอียดและความคมชัดสูง เนภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาวและแนวเฉียง เป็นภาพ 3 มิติ ภาพที่ได้จึงชัดเจนกว่าการตรวจแบบเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์แบบ CT Scan เพิ่มความแม่นยำในการวินิจฉัย   MRI CT หลักการทำงาน เครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ร่วมกับคลื่นความถี่วิทยุ ในการตรวจ ได้ภาพ 3 มิติเสมือนจริง สามารถตรวจได้ทุกระนาบ ไม่มีรังสีเอ็กซ์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ในช่วง 6-9 เดือนหากมีข้อบ่งชี้ในการตรวจ เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ปล่อย X-Ray ในการตรวจได้ภาพแบบ…

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดคลอด

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดคลอด   คุณแม่หลังคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ในช่วงระยะเวลาพักฟื้นราว 5-6 สัปดาห์นี้ คุณแม่และคนใกล้ตัวจึงควรเรียนรู้วิธีการดูแลตัวเอง เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ กลับคืนสู่สภาพปกติ พร้อมไปกับการปรับตัวเข้าสู่บทบาทความเป็นแม่อย่างเต็มตัว การเคลื่อนไหวร่างกายหลังผ่าตัด     แม้จะต้องเผชิญกับความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัด แต่คุณแม่ก็ควรพยายามเคลื่อนไหวหรือพลิกตัวบ่อยๆ เพราะจะช่วยทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวตัวได้ดีขึ้น รวมทั้งป้องกันการเกิดพังผืดระหว่างอวัยวะในช่องท้องกับเยื่อบุช่องบริเวณผ่าตัด ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการปวดท้องเรื้อรังได้ การดูแลแผลผ่าตัด     อาการปวดตึงแผลจะทุเลาลงหลัง 48 ชั่วโมง ด้วยการรับประทานยาแก้ปวด และสามารถใช้ผ้ายางยืดแผลผ่าตัดไม่ให้ถูกดึงรั้งจากผนังหน้าท้องที่ยังหย่อนยาน หากแผลที่เย็บมีอาการอักเสบ บวม แดง และมีอาการปวดมากขึ้น หรือมีหนอง มีกลิ่นเหม็น คุณแม่ควรรีบไปพบแพทย์ การปรับท่านอน     คุณแม่ควรปรับหัวเตียงให้สูงขึ้นเล็กน้อย เพื่อให้แผลตรงหน้าท้องไม่ตึงเกินไป ส่วนเวลาจะลุกนั่งจากเตียงก็ให้ใช้วิธีตะแคงตัว แล้วค่อยๆ ใช้มือยันตัวลุกขึ้นในท่าตะแคง การทำความสะอาดร่างกาย     ในระยะแรกจะยังอาบน้ำไม่ได้ เพราะจะทำให้แผลผ่าตัดเปียก อาจติดเชื้อและอักเสบได้ จึงต้องใช้วิธีเช็ดตัวประมาณ 7 วัน หลังจากหมอตัดไหมแล้วจึงอาบน้ำได้ตามปกติ หลังอาบน้ำให้ใช้ผ้าสะอาดเช็ดแผล ไม่จำเป็นต้องใช้แอลกอฮอล์ การรับประทานอาหารในช่วงพักฟื้นหลังคลอด  …

ทำอย่างไร เมื่อลูกน้อยไม่ยอมนอน

ทำอย่างไร…. เมื่อลูกน้อย ไม่ยอมนอน!! ทำอย่างไร…. เมื่อลูกน้อย ไม่ยอมนอน!!      การนอนก็เป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการเด็ก จากการศึกษาวิจัย เด็กทารกจะใช้เวลากับการนอนมากถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน โดยมักตื่นร้องทุก 3-4 ชั่วโมง ซึ่งสัมพันธ์กับความหิว เนื่องจากเด็กทารกต้องกินนมทุก 3-4 ชั่วโมง จึงทำให้เด็กทารกจะตื่นกลางคืนทุก 3-4 ชั่วโมง ในช่วงนี้คุณพ่อคุณแม่อาจเหนื่อยหน่อย แต่เมื่อลูกโตขึ้นก็จะหลับกลางคืนได้นานมากขึ้น       อีกปัญหาหนึ่งที่พบเจอบ่อย ๆ มักเกิดจากการที่พ่อแม่ตอบสนอง การตื่นของลูกทุกครั้งด้วยการให้นม อาจจะเป็นเพราะพ่อแม่เหนื่อยล้า อยากพักผ่อน ไม่อยากได้ยินเสียงลูกร้องเวลากลางคืน ถ้าลูกร้อง ไม่ว่าจะร้องดัง หรือแค่ร้องแอ๊ะๆ ก็รีบเอาขวดนมใส่ปากทันที การทำแบบนี้เด็กจะถูกฝึกให้ตื่นร้องมากินนมกลางคืนไปตลอด แทนที่จะได้หลับยาวๆ ตามที่ควรจะเป็น ก็เลยร้องตื่นคืนละ 3-4 รอบ พ่อแม่อดหลับอดนอนไปตามๆ กัน ดังนั้นเพื่อหลีกเมื่อลูกร้องกลางคืนก็ควรหาสาเหตุเสียก่อนว่าร้องเพราะอะไร เช่นเปียกอุจจาระ ปัสสาวะหรือไม่ อากาศร้อน เย็นเกินไปหรือเปล่า ถ้าไม่เจออะไร ลองตบก้นให้หลับหรืออุ้มปลอบดูก่อน ถ้าไม่หยุดจริง ๆ…

รู้เท่าทัน ระวังท้องร่วงจากเชื้อไวรัสโรต้าในเด็ก (ROTAVIRUS)

รู้เท่าทัน…ระวังท้องร่วง จากเชื้อไวรัสโรต้าในเด็ก ไวรัสโรต้า เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่มีหลายสายพันธุ์ เมื่อเชื้อไวรัสนี้เข้าไปในระบบทางเดินอาหารแม้เพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดอาการอุจจาระร่วงรุนแรงได้ ซึ่งพบมากในเด็กเล็กและมีอาการรุนแรงกว่าเด็กโต ถึงขนาดที่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล และสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย นอกจากนี้ไวรัสโรต้ายังทนต่อสิ่งแวดล้อมได้นานหลายชั่วโมงจึงทำให้เกิดการระบาดอย่างรวดเร็ว อาการที่พบ     อาเจียนมีไข้ชักเพราะไข้สูงท้องเสีย ถ่ายเหลวเป็นน้ำ ไวรัสโรต้า     อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียและอาเจียนอย่างหนักจนเกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงถึงขั้นช็อกหรือเสียชีวิตได้ จึงควรสังเกตอาการขาดน้ำที่เป็นสัญญาณเตือนว่าต้องรีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ได้แก่ กระหายน้ำ ปากแห้ง กระวนกระวาย ซึม ตาโบ๋ กระหม่อมบุ๋ม เป็นต้น วิธีการรักษา     การดูแลรักษาเจ้าตัวเล็กและผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสโรต้าที่ดีที่สุดคือ การทดแทนน้ำในร่างกายที่สูญเสียไปเพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดน้ำรุนแรงและดูแลเรื่องการรับประทานอาหาร ดังนี้ ดื่มน้ำเกลือแร่ครั้งละน้อย บ่อย ๆ งดนมและผลไม้ ถ้าเป็นเด็กเล็กไม่ต้องหยุดนมแม่ เลี่ยงการให้ยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อ หากอาการไม่รุนแรงควรให้ดื่มน้ำสะอาดร่วมกับน้ำเกลือแร่ อาหารเหลว และอาหารอ่อน ถ้าอาการรุนแรง คือ มีไข้สูง ถ่ายเป็นมูกเลือด อาเจียน ซึม และเพลียมาก ควรรีบพบแพทย์ทันที วิธีป้องกันเชื้อไวรัสโรต้า     เนื่องจากการติดเชื้อไวรัสโรต้า ส่วนใหญ่ติดต่อจากการสัมผัสโดยตรงและการรับประทานอาหารที่มีการปนเปื้อนของเชื้อนี้ เพราะฉะนั้นวิธีการป้องกัน…

การป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการซึมเศร้าหลังคลอด

การป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการซึมเศร้าหลังคลอด การป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการซึมเศร้าหลังคลอด     สิ่งสำคัญที่สุด ในการป้องกันและหลีกเลี่ยงอาการซึมเศร้า นั้นก็คือคนรอบข้าง ใกล้ชิด เช่น พ่อ แม่ สามี ต้องคอยสังเกต และยื่นมือเข้ามาช่วย โดยต้องอดทน เข้าใจกัน คอยให้กำลังใจ สนับสนุน ช่วยกันให้ผ่านแต่ละเหตุการณ์ไปให้ได้ อย่าตำหนิ โกรธ โมโห เวลาคุณแม่มีอารมณ์เหวี่ยง คุณพ่อควรผลัดเปลี่ยนกันดูแลลูก เพื่อให้คุณแม่ได้พักผ่อน ช่วยลดปัญหาการนอนไม่หลับ     ชวนคุณแม่ทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะเลี้ยงลูกอย่างเดียว เช่น ชวนกันเดินออกกำลังกาย ไปเที่ยวพักผ่อน ไปทานอาหารร้านโปรด หรือซื้อของขวัญมาให้     ครอบครัวต้องช่วยกันคอยสังเกตอาการของคุณแม่ หากมีภาวะอาการมากกว่า 2 สัปดาห์ โดยมีอาการมากขึ้นกระทั่งมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือมีพฤติกรรมแปลกๆ ผิดจากคนทั่วไปให้รีบไปพบแพทย์ เพราะเท่ากับว่าได้พัฒนาอาการเข้าสู่ภาวะที่เป็นโรคจิตหลังคลอดแล้ว สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ รพ.พิษณุเวช พิจิตร  โทร.056-613-316 ข่าวสารและกิจกรรมอื่นๆ พวกเราได้รับวัคซีนแล้วนะ Read more มาตรการป้องกัน Covid-19…

แนวทางการดูแลรักษาผู้มีภาวะผิดปกติทางจิตใจหลังคลอด

แนวทางการดูแลรักษาผู้มีภาวะผิดปกติทางจิตใจหลังคลอด การดูแลแม่ที่มีภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดและโรคซึมเศร้าหลังคลอด     ภาวะอารมณ์เศร้าหลังคลอดและโรคซึมเศร้าหลังคลอด ส่วนใหญ่อาการจะหายไปเอง นานสุดภายใน 6 เดือน หรือบางคนประมาณ 2-3 เดือน เพราะลูกเริ่มปรับตัวกับโลกใบใหม่ได้แล้ว เลี้ยงง่ายขึ้น กินนอนเป็นเวลามากขึ้น แม่ก็ดีขึ้น แต่บางคน 6 เดือนเพราะฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์กว่าจะเข้าที่เข้าทางต้องใช้เวลา 6 เดือน การดูแลแม่ที่เป็นโรคจิตหลังคลอด     โรคจิตหลังคลอด ต้องใช้เวลารักษาประมาณ 6 เดือน – 1 ปี ในผู้ที่เป็นโรคซึมเศร้าอยู่แล้วจะมีความเสี่ยงมากขึ้นที่อาจจะเกิดซึมเศร้าหลังคลอด บางคนมีอาการตั้งแต่ตั้งครรภ์ ต้องปรึกษาแพทย์ เพื่อปรับยาให้ปลอดภัย ไม่เป็นอันตรายกับลูก ทำอย่างไรเมื่อรู้ว่าตัวเองเป็นโรคซึมเศร้าหลังคลอด เล่าสิ่งที่อยู่ในใจให้กับคนที่คุณใกล้ชิดที่สุดฟังว่าคุณรู้สึกอย่างไร พยายามอย่าแยกตัวอยู่คนเดียวหรือเก็บความรู้สึกของคุณไว้เด็ดขาด เพราะจะรู้สึกซึมเศร้าหนักกว่าเดิม ถ้ารู้ว่าตัวเองมีอาการซึมเศร้ายาวนานขึ้น อย่าคิดว่าเดี๋ยวหายเอง ให้ขอความช่วยเหลือจากแพทย์จะดีที่สุด เพราะถ้าคุณพบแพทย์เร็วก็จะทำให้ฟื้นตัวได้เร็ว หากิจกรรมทำ หรือการออกกำลังกาย เพื่อการบำบัดอาการซึมเศร้า ซึ่งจากการศึกษาวิจัยพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยบำบัดโรคนี้ได้ดี เพลงกล่อมลูกช่วยรักษาอาการซึมเศร้าหลังคลอดได้     จากผลการศึกษาของนักวิจัยชื่อว่า โรซี่ เพอร์กินส์ ของ Imperial College…

โรคจิตหลังคลอด

โรคจิตหลังคลอด โรคจิตหลังคลอด (Postpartum Psychosis)     เป็นอาการที่รุนแรงที่สุด เป็นภาวะอันตราย และฉุกเฉินที่ต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด ถึงแม้พบได้ไม่บ่อย ประมาณ 0.1-0.2% แต่อาการมักรุนแรง อาการ     โรคจิตหลังคลอด มักจะมีอาการทางระบบประสาท เช่น หวาดระแวง ประสาทหลอน หูแว่ว พฤติกรรมแปลกประหลาด วุ่นวายผิดแปลก อารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง ซึมเศร้า หรืออารมณ์ดีแบบไม่สมเหตุสมผล อารมณ์เปลี่ยนแปลงเร็ว มีความคิดหลงผิด คิดว่าลูกไม่ใช่ลูกตัวเอง หรือมีการคิดทำร้ายตนเอง คนรอบข้าง หรือแม้กระทั่งลูกน้อย     เมื่อมีอาการทางจิตเวชจะทำให้ไม่สามารถดูแลลูกได้ โดยเฉพาะผู้ที่ดูแลลูกตามลำพัง ไม่มีใครคอยให้คำแนะนำ หรือคอยถามไถ่ความรู้สึก อาจทำให้ลูกมีอันตรายได้ บางรายที่มีอาการรุนแรง อาจมีความคิดฆ่าตัวตาย หรือฆ่าลูกตนเอง เพราะรู้สึกว่าทุกอย่างแย่ไปหมด ไม่มีความสมเหตุสมผล กินไม่ได้ นอนไม่หลับ รู้สึกว่าเป็นแม่ที่ไม่ดี  การรักษา     ผู้ป่วยโรคจิตหลังคลอด จำเป็นต้องพบจิตเวชแพทย์โดยเร็วที่สุด อาจต้องนอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล สอบถามเพิ่มเติมได้ที่…