Header

5 อันดับโรคมะเร็งของผู้ชาย

ณัฐ ดวงรัตนประทีป ทพ. ณัฐ ดวงรัตนประทีป

5 อันดับโรคมะเร็งของเพศชาย

5 อันดับโรคมะเร็งของเพศชาย

จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่า แต่ละปีมีคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งรายใหม่มากถึงวันละ 381 คน หรือ 139,206 คนต่อปี และเสียชีวิตจากโรคมะเร็งวันละ 230 คน หรือ 84,073 คนต่อปี  5 อันดับแรกของมะเร็งที่พบบ่อยในชายไทย ได้แก่ 

 

 

อันดับที่ 1 มะเร็งตับและท่อน้ำดี


พบมากเป็นอันดับ 1 พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30- 70 ปี มะเร็งตับมีสาเหตุหลัก คือ การได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ พยาธิใบไม้ในตับ การดื่มแอลกอฮอล์ รับสารพิษอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) การรับยาบางชนิด และพันธุกรรม เป็นต้น โรคมะเร็งตับและท่อน้ำดีในระยะแรกมักไม่แสดงอาการ กว่าจะได้รับการวินิจฉัยก็มักจะเข้าสู่ระยะท้าย เป็นในระยะแพร่กระจายหรือระยะที่มีความรุนแรงของโรคแล้ว (advanced stage) และไม่สามารถรับการรักษาได้ทัน ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากที่สุด อาการมะเร็งตับและท่อน้ำดีระยะท้าย ปวดท้องโดยเฉพาะบริเวณข้างขวาส่วนบน บางรายอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หลังหรือไหล่ ท้องบวมขึ้น น้ำหนักตัวลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้ง ๆ ที่รับประทานตามปกติ เบื่ออาหาร ไม่รู้สึกอยากอาหาร อ่อนเพลีย มีไข้โดยไม่ทราบสาเหตุ
คลำพบก้อนที่บริเวณตับ ตัวเหลืองและตาเหลือง

 

 

อันดับที่ 2 มะเร็งปอด


เป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับ 2 ในผู้ชายไทย สาเหตุหลักของมะเร็งปอดมาจากการสูบบุหรี่ หรือรับควันบุหรี่

อาการของผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดในระยะแรก ๆ มักจะไม่ค่อยแสดงอาการที่ชัดเจน มักมีอาการไอเสมหะหรือไอมีเลือด เจ็บหน้าอก หายใจดังและถี่ ความอยากอาหารลดลง เป็นต้น ทั้งนี้อาการของมะเร็งปอดขึ้นอยู่กับความรุนแรงและการกระจายตัวของเซลล์มะเร็ง รวมไปถึงตำแหน่งของก้อนมะเร็งด้วย อาการมะเร็งปอด แบ่งตามความรุนแรงของโรค ดังนี้

  • ไอมีเลือดปน
  • เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก
  • หายใจหอบ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ
  • เสียงแหบ
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดร้าวที่ไหล่ ต้นแขน และสะบักหลัง
  • ปอดบวม ปอดอักเสบบ่อย

 

 

อันดับที่ 3 มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก


มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก เกิดได้กับทุกวัยโดยเฉพาะคนทำงาน บ่อยครั้งที่อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจไปคล้ายกับโรคอื่น ๆ หรืออาจไม่ได้แสดงอาการมากนัก ทำให้ไม่ได้ระวังตัว จนเป็นเหตุให้จากเนื้องอกธรรมดา ๆ กลายเป็นเนื้อร้ายที่ยากต่อการรักษา
หากมีอาการบ่งชี้เหล่านี้ ควรตั้งข้อสงสัยและรีบไปปรึกษาแพทย์ทันที ท้องเสีย ท้องผูก ท้องอืด บ่อย ๆ ไม่สบายท้อง ปวดแสบร้อน อาหารไม่ย่อย และปวดเกร็ง ลักษณะอุจจาระลำเล็กลงกว่าปกติ อุจจาระปนเลือดสด ๆ หรือเลือดสีคล้ำมาก น้ำหนักลดลงอย่างผิดสังเกต ทั้ง ๆ ที่รับประทานตามปกติ อ่อนเพลีย อ่อนแรง เบื่ออาหาร รับประทานได้น้อย มีภาวะโลหิตจาง

 

 

อันดับที่ 4 มะเร็งต่อมลูกหมาก


เป็นมะเร็งที่พบได้มากในเพศชาย โดยเฉพาะผู้ชายที่มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป เกิดจากเซลล์ต่อมลูกหมากเจริญเติบโตผิดปกติและรวดเร็วจนกลายเป็นก้อนมะเร็งอุดตันทางเดินปัสสาวะในที่สุด และเซลล์มะเร็งเหล่านี้สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น กระดูก ปอด ตับ ทำให้อวัยวะเหล่านั้นเสียหาย และอาจทำให้เสียชีวิตได้ อาการผิดปกติที่เป็นสัญญาณของโรคต่อมลูกหมาก ส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับ "การปัสสาวะ" ซึ่งสามารถสังเกตอาการผิดปกติจากการปัสสาวะได้ ดังนี้

  • ปัสสาวะนาน ปัสสาวะขัด ลำของปัสสาวะอ่อนแรง หรือปัสสาวะเป็นหยด ๆ
  • ปวดปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ
  • ตื่นขึ้นมากลางดึกเพื่อปัสสาวะบ่อยขึ้น
  • รู้สึกเจ็บปวดเวลาถ่ายปัสสาวะ
  • หากอาการรุนแรงอาจมีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ

 

อันดับที่ 5 มะเร็งต่อมน้ำเหลือง


เกิดจากการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของระบบต่อมน้ำเหลือง และความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว โดยทั้งสองระบบเป็นเรื่องของภูมิคุ้มกันเหมือนกัน ซึ่งไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดจากการกลายพันธุ์ของเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งเกิดได้จากหลายปัจจัย เช่น ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง การติดเชื้อบางชนิด การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน เป็นต้น มะเร็งต่อมน้ำเหลืองจะเกิดกับอวัยวะต่าง ๆ ของระบบต่อมน้ำเหลือง ได้แก่ ม้าม ไขกระดูก ต่อมทอนซิล และต่อมไทมัส

อาการของมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

  • พบก้อนที่บริเวณต่อมน้ำเหลือง เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ โดยไม่มีอาการเจ็บ แต่บางครั้งการคลำเจอก้อนก็อาจไม่ใช่ก้อนมะเร็งเสมอไป อาจเป็นตัวโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มะเร็ง
  • มีไข้ หนาวสั่น เหงื่อออกมากในกลางคืน
  • เบื่ออาหาร น้ำหนักลดเร็ว อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ไอเรื้อรัง หายใจไม่สะดวก
  • ต่อมทอนซิลโต
  • ปวดศีรษะ
  • ซีด เลือดออกง่าย อาจสังเกตพบจุดเลือดออกตามตัวหรือจ้ำเลือด
  • รายที่เป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลืองในช่องท้องจะมีอาการแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ปวดท้อง หรือท้องโตขึ้นจากการมีน้ำในช่องท้อง

มะเร็งต่อมน้ำเหลืองสามารถรักษาให้หายได้ ถ้าไม่ได้อยู่ในระยะแพร่กระจาย จึงควรสังเกตตัวเองอยู่เสมอ หากคลำเจอก้อนควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาได้อย่างทันท่วงที



ศูนย์การรักษาที่เกี่ยวข้อง

สถานที่

เวลาทำการ

เบอร์ติดต่อ

แพทย์ประจำศูนย์
พญ. พรไพลิน ไทยตรง

กุมารเวชศาสตร์

พญ. ปัณณพร ทองสุก

อายุรศาสตร์ทั่วไป

พญ. จิระภา แย้มสันต์

เวชปฏิบัติทั่วไป

แพทย์แนะนำ

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

พญ.กิติยา จันทรวิถี

พญ.กิติยา จันทรวิถี

ศูนย์ศัลยกรรมทั่วไป

อายุรแพทย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

นพ. ลิขิต กำธรวิจิตรกุล

ศัลยเเพทย์ออร์ปิดิกส์

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคมะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็ง 5 ที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

ณัฐ ดวงรัตนประทีป ทพ. ณัฐ ดวงรัตนประทีป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
โรคมะเร็ง 5 อันดับ ที่พบบ่อยในผู้หญิง

โรคมะเร็ง 5 ที่พบบ่อยในผู้หญิง จากข้อมูลสถาบันมะเร็งแห่งชาติรายงานว่า โรคมะเร็งที่พบในผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุด 5 อันดับแรก ของผู้หญิงไทย  ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก มะเร็งปอด มะเร็งมดลูก ซึ่งผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็นได้ ถ้ารู้จักการป้องกันโรคก็จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคได้

ณัฐ ดวงรัตนประทีป ทพ. ณัฐ ดวงรัตนประทีป

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม